Tag Archives: ภาพยนตร์แอนิเมชั่น

แนวโน้มตลาดภาพยนตร์แอนิเมชั่นในประเทศ

Croods-Teaser-One-Sheet-2012
เนื่องจากตลาดแอนิเมชั่นในประเทศไทยในปีนี้อาจเติบโตไม่มากนัก โดยมองว่าประเทศไทยมีอุปสรรคในเรื่องเงินสนับสนุนการทำภาพยนต์แอนิเมชั่น ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุนมากพอสมควร แต่ปัจจัยด้านฝีมือนั้นถือว่าคนไทยมีฝีมือเป็นอันดับต้นของโลก จากการทำภาพยนต์โฆษณาแอนิเมชั่นที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ซึ่งในต่างประเทศรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และมีสถาบันการเงินที่สามารถกู้โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงอยากให้ภาครัฐให้การสนับสนุนในด้านนี้เช่นเดียวกัน ปัจจุบันกระแสความนิยมภาพยนต์ 3 มิติทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยปีที่ผ่านมามีการผลิตภาพยนต์และแอนนิเมชั่น 3 มิติ ที่เข้าฉายในโรงภาพยนต์ทั่วโลกมากถึง 44 เรื่อง ประกอบกับโรงภาพยนต์และโทรทัศน์ได้เพิ่มความสามารถในการรับชมภาพยนต์ในรูปแบบ 3 มิติเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระแสความนิยมรับชมภาพยนต์และแอนิเมชั่น 3 มิติของผู้ชมทั่วโลก

ภาพยนตร์แอนิเมชันที่นำเสนอออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยในปัจจุบัน  ยังคงเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกาและจากประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีความสามารถในการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันได้เองแล้วแต่ยังมีปริมาณน้อยและภาพยนตร์แอนิเมชันของไทยยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าของต่างประเทศ โดยเฉพาะรายการภาพยนตร์แอนิเมชันซีรี่ส์ทางโทรทัศน์ของไทยนั้นมีความยาวในการนำเสนอโดยเฉลี่ยเพียงประมาณ 10-15 นาทีต่อตอนเท่านั้น จึงอาจทำให้ผู้ชมเมื่อรับชมแล้วยังไม่เกิดการจดจำ ไม่ซึมซับรูปแบบและเนื้อหาของภาพยนตร์แอนิเมชัน ไม่ติดตาตรึงใจ จนถึงไม่อาจทำการตลาดหรือดำเนินธุรกิจต่อไปอีกได้

ผู้ประกอบการแอนิเมชั่นไทยจะต้องเผชิญการแข่งขันจากประเทศในอาเซียน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่มีจุดแข็งด้านการผลิตแอนิเมชั่นที่แตกต่างกันไป แม้ว่าผู้ประกอบการแอนิเมชั่นไทยจะมีการรับจ้างช่วงต่อจากผู้ประกอบการต่างชาติ โดยมีจุดแข็งในด้านความละเอียดและเทคนิคขั้นตอนการผลิตและขั้นตอนหลังการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนิเมชั่นที่เป็นส่วนประกอบของโฆษณา ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการรับงานที่แตกต่างจากประเทศคู่แข่งในอาเซียนแล้ว ผู้ประกอบการแอนิเมชั่นไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตแอนิเมชั่นที่มีเอกลักษณ์ แปลกใหม่ สามารถสร้างความจดจำและความประทับใจให้กับผู้ชมควบคู่กันไป นอกจากนี้ภาครัฐควรส่งเสริมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นไทย ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสริมด้านการตลาดและการเผยแพร่ผลงานแอนิเมชั่นในต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนด้านแอนิเมชั่นจากผู้ประกอบการต่างชาติ