Tag Archives: อุตสาหกรรมภาพยนตร์

อุตสาหกรรมภาพยนตร์กับการเจรจาเปิดตลาดกับประเทศคู่ค้าสำคัญ


อุตสาหกรรมภาพยนตร์มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจต่างๆ หลาย ธุรกิจ โดยพิจารณาได้จากรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมากที่ปรากฏในตอนท้ายของภาพยนตร์ เช่น การผลิตภาพยนตร์ การจัดจำหน่ายภาพยนตร์การตัดต่อฟิลม์ การบันทึกเสียงและการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น ที่สำคัญ อุตสาหกรรมภาพยนตร์สามารถครอบงำและปรับเปลี่ยนแนวคิด

เกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมอันดีงามของสังคมได้ ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาให้ความสำคัญ โดยมีมาตรการในการสนับสนุนและปกป้องอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศฝรั่งเศสที่เอาจริงเอาจังกับการปกป้องอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของตนไม่ให้ถูกครอบงำโดยภาพยนตร์อเมริกัน โดยให้การอุดหนุนด้านการเงิน (subsidy) และการกำหนดโควตาการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศด้วย หลักเกณฑ์ข้อหนึ่งที่รัฐบาลฝรั่งเศสกำหนดขึ้น คือ ในแต่ละปีโรงภาพยนตร์จะต้องฉายภาพยนตร์ฝรั่งเศสอย่างน้อย 16 สัปดาห์

ส่วนสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ผลิตภาพยนตร์มากเป็นอันดับสองรองจากอินเดีย แต่มีรายได้จากการจำหน่ายภาพยนตร์มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ มีรายได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ภาพยนตร์ทั่วโลก สหรัฐฯจึงต้องการผลักดันให้ประเทศต่างๆ ลด/ยกเลิกมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของตนลงโดยรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นธุรกิจการให้บริการสาขาหนึ่งที่ต้องนำมาเจรจาเปิดเสรีในกรอบการเจรจาการค้าพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) รอบอุรุกวัย แม้จะได้รับการคัดค้านอย่างเต็มที่จากฝรั่งเศส โดยอ้างเหตุผลด้านวัฒนธรรมก็ตาม  แต่ก็ไม่สามารถต้านทานแรงผลักดันของสหรัฐฯ ได้

หลังจากที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ถูกนำไปผนวกเป็นธุรกิจบริการสาขาหนึ่งที่ต้องนำมาเจรจาเปิดเสรีใน WTO แล้ว การเจรจาเปิดเสรีในเวทีอื่นๆ ทั้งระดับภูมิภาคและระดับทวิภาคีเพื่อจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ก็ได้นำอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาเป็นประเด็นหนึ่งที่นำมาเจรจาเปิดเสรีระหว่างกันด้วย แม้ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์ไทยจะขยายตัว แต่ยังมีการกระจุกตัวของบริษัทผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ซึ่งมีเพียงไม่กี่รายและเกือบทั้งหมดเป็นบริษัทร่วมทุน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมทุนกับบริษัทจัดจำหน่ายของสหรัฐฯ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 90% ของตลาดภาพยนตร์ในไทย

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยในปัจจุบัน และการเปิดเสรีทางด้านภาพยนตร์


ภาพยนตร์ของไทยมีโอกาสได้ไปสร้างชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์ของโลกมากมาย อาทิ ฟ้าทะลายโจร สุริโยไท องค์บาก สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก กวนมึนโฮ เป็นต้น ขณะเดียวกัน สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมกับพัฒนาการของภาพยนตร์ไทย ก็คือ การสร้างภาพยนตร์ต่างชาติที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย รวมถึงการมาทำเทคนิคหลังจากถ่ายทำเสร็จ (Post production) ซึ่งก่อให้เกิดเม็ดเงินที่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทยจำนวนมาก แต่หลายคนอาจมองข้ามและละเลยการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ไป ทั้งๆที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลายๆอย่าง

อุตสาหกรรมบันเทิง แบ่งได้เป็นสองประเภท ดังนี้ 1.) อุตสาหกรรมประเภทที่ต้องผ่านสื่อหรือการบริการด้านบันเทิง 2.) อุตสาหกรรมประเภทแสดงสด ภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) อุตสาหกรรมบันเทิงถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่การค้าบริการ “สาขาบริการโสตทัศน์” ซึ่งครอบคลุมธุรกิจการบริการเกี่ยวกับภาพยนตร์ (ไม่รวมโฆษณา) ในบริบทการค้าในอุตสาหกรรมบันเทิง ถ้าพิจารณาจากรายได้พบว่าประเทศไทยรับรายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยจำนวนมากและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ธุรกิจภาพยนตร์เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพราะมีการจ้างงานในประเทศทำให้เกิดการกระจายรายได้มากมาย เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นๆอีก เช่น ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจออกแบบตัดเย็บ เป็นต้น ปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมบันเทิงเน้นการใช้ฐานความรู้ในการผลิต

สาเหตุที่ต่างประเทศนิยมมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทย เพราะไทยมีอุปกรณ์คุณภาพสูง ทัศนียภาพสวยงาม มีโครงสร้างสาธารณูปโภคดี และทีมงานชาวไทยทำงานได้ดี และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก ประเทศญี่ปุ่นได้ขอเข้ามาถ่ายทำในไทยมากที่สุด รองลงมา คือ ประเทศจากยุโรป จีน อินเดีย ฮ่องกง สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ตามลำดับ

การเจรจาเปิดเสรีการค้าด้านบริการธุรกิจบันเทิงแบบพหุภาคีดูจะไม่ค่อยมีความคืบหน้า เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างของกลุ่มประเทศสมาชิกสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกามองภาคบริการโสตทัศน์เป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ แต่อีกฝ่ายนำโดยสหภาพยุโรปมองว่าเป็นสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม อุดมคติ และความเชื่อ ซึ่งทั้งสองมุมมองไม่สามารถใช้กฎระเบียบการค้าเดียวกันได้ สำหรับประเทศไทยมีการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีทวิภาคี 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย จีน นิวซีแลนด์ บาห์เรน และเปรู

การเลือกทำเลในการเปิดโรงเรียนด้านภาพยนต์

เมื่อภาพยนตร์ไทย กลายเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ในปัจุบันธุรกิจด้านภาพยนตร์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมภาพยนตร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน และเรื่องของทำเลในการเปิดโรงเรียนด้านภาพยนต์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ทำเลที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อความสำเร็จของธุรกิจ กล่าวคือผู้ประกอบการท่านใดมีทำเลดีถือว่าได้เปรียบคู่แข่งขันโดยผู้ประกอบการธุรกิจแต่ละประเภทจะใช้ทำเลที่ตั้งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจด้วย

สิ่งสำคัญที่สุดของการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์คงไม่มีอะไรที่จะเหนือเกินกว่าทําเลไปได้ ปัจจัยอื่นๆ ที่ใครว่ามีความสำคัญ ถ้าพิจารณาดูจริง ๆ จะพบว่าล้วนเป็นปัจจัยที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากทำเล ทั้งสิ้น

การเลือกทำเลถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลปินที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดคุณค่าของทำเล รวมถึงทักษะในการวิเคราะห์และพิจารณาทำเลด้วย ทั้งนี้เพราะทำเลจะดีหรือไม่ดี คุณค่าจะถูกกำหนดจากเงื่อนไขการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ

ในทางธุรกิจ แล้วทำเลที่ตั้งจะเป็นตัวบอกถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของธุรกิจได้ ดังนั้นบริษัทจำนวนมากจึงมักให้ความสำคัญกับงานในการเลือกทำเลเปิดสาขา หรือทำเลเปิดกิจการในรูปแฟรนไชส์โดยปกติจะมีการจัดทั้งหน่วยงานขึ้นมาทำหน้าที่ในการสำรวจ วิเคราะห์ และเลือกทำเลเป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสาคัญของศาสตร์ในด้านการเลือกทำเลในวงการธุรกิจไดัเป็นอย่างดีรวมทั้งโรงเรียนด้านภาพยนตร์ด้วยต้องมองทำเลที่เป็นทำเลทอง ที่คนสามารถเข้าถึงเยอะและเป็นศูนย์กฃางของผู้คน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในการไปเรียนด้านภาพยนตร์ ยิ่งงานทางด้านภาพยนตร์ยิ่งบูมเท่าไหร่ คนก็ยิ่งมีความสนใจที่จะเรียนมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำธุรกิจอะไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงเป็นอันดับต้นๆก็คือเรื่องของทำเล เพราะถ้าเราได้ทำเลที่ดีเท่ากับว่าเรามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว